«« ข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬา

 

ข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬาในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

 

เทศบาลนครปากเกร็ดส่งเสริมการออกกำลังกาย การเล่นกีฬาและนันทนาการ จึงได้รวบรวมลานกีฬา/สนามกีฬาในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด 5 ตำบล ที่ประชาชนสามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้

ตารางสรุปข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬา

ข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/โรงเรียนในเขตเทศบาล

ลำดับ หน่วยงาน จำนวนลานกีฬา/สนามกีฬา (แห่ง) พร้อมให้บริการ ไม่พร้อมให้บริการ หมายเหตุ
1 เทศบาลนครปากเกร็ด 10 10 -  

ข้อมูลลานกีฬา/สนามกีฬาชุมชน

ลำดับ หน่วยงาน จำนวนชุมชน จำนวนลานกีฬา/สนามกีฬา (แห่ง) พร้อมให้บริการ ไม่พร้อมให้บริการ หมายเหตุ
2 ตำบลปากเกร็ด 14 10 10 -  
3 ตำบลบางพูด 19 19 19 -  
4 ตำบลบ้านใหม่ 11 9 9 -  
5 ตำบลบางตลาด 17 15 15  
6 ตำบลคลองเกลือ 5 3 3 -  
รวม 66 56 56 -  

 

• ข้อมูลลานกีฬาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

             - จำนวนชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ทั้งหมด ๖๖ ชุมชน

             - จำนวนลานกีฬาที่พร้อมใช้งานทั้งหมด ๖๖ ชุมชน

             - การคำนวณ 56 x 100 = ร้อยละ ๘๔.๘๔

                                   66

หมายเหตุ : ทุกชุมชนมีลานกีฬา/สนามกีฬา ที่สามารถใช้ออกกำลังกายได้ทั้งหมด ๖๖ ชุมชน แต่มีชุมชนที่ใช้ลานกีฬาร่วมกัน จำนวน ๑๐ ชุมชน จึงทำให้มีจำนวนลานกีฬา/สนามกีฬาทั้งสิ้น ๕๖ แห่ง รายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายตาราง

อัพเดท วันที่ 2 มิถุนายน 2566

ชุมชนสังคมสงเคราะห์ / ชุมชนเข้มแข็ง

เทศบาลนครปากเกร็ด ได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชนขึ้น จำนวน 63 ชุมชน เมื่อ ปี 2549 ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยที่ประสงค์ให้ประชาชนในเขตเทศบาลได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง และมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนตนเอง เป็นการประสานส่งเสริมความร่วมมือของประชาชนในท้องถิ่นกับเทศบาล ซึ่งในแต่ละชุมชนจะมีคณะกรรมการชุมชน จำนวน 9 คน ที่เป็นตัวแทนของประชาชนในชุมชนในการดำเนินงานประสานงานติดต่อระหว่างชุมชนและเทศบาล ตามรูปแบบการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชนดังนี้

 




- คณะกรรมการชุมชนชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการชุมชน 1 คน และกรรมการชุมชน ไม่เกิน 8 คน
- คณะกรรมการชุมชน อาจพิจารณาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาได้ตามความเหมาะสม
- ประธานกรรมการชุมชน อาจพิจารณาคัดเลือกกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่เลขานุการ

ปัจจุบันเทศบาลนครปากเกร็ด มีจำนวน 66 ชุมชน (ปี 2549 - 2561)

  1. เป็นผู้นำและเป็นแกนกลางในการพัฒนาชุมชน
  2. แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
  3. เสนอแผนงาน โครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากเทศบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความสำนึกและร่วมใจกันพัฒนาชุมชน
  5. ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  6. เสริมสร้างความสามัคคีและความเข้มแข็งในชุมชน
  7. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการชุมชนย่อย

  1. ศึกษาข้อมูลของชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ ที่จำเป็น
  2. นำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  3. สรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน
  4. ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้วางไว้ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
  5. ติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี

กิจกรรมในฝ่ายต่าง ๆ ของคณะกรรมการชุมชนย่อย

ฝ่าย หน้าที่ ตัวอย่างกิจกรรม
ปกครอง 1. บำบัดทุกข์บำรุงสุข
2. การดูแลชุมชนให้เป็นไปโดยกฎหมาย ขนบธรรมเนียม ประเพณี และนโยบายของชาติ
3. การส่งเสริมให้ราษฎรสนใจใน การปกครองแบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. การส่งเสริมให้ราษฎรสนใจในการปกครองท้องถิ่น
5. การส่งเสริมความสามัคคีของส่วนรวม
6. การดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎร ใช้ประโยชน์ร่วมกันในชุมชน
7. งานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
1. จัดทำป้ายคำขวัญ ป้ายชื่อชุมชน สถิติ การปกครองต่างๆ
2. การให้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร และบัตรประจำตัวประชาชน
3. ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ส.ท. และ ส.ส.
4. ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย แก่ประชาชน
5. การไกล่เกลี่ยกรณีพิพาท หรือการประนอมข้อพิพาท
6. การดูแลไฟฟ้าสาธารณะ
7. เผยแพร่ข่าวสารของทาง ราชการ
ป้องกันและรักษา ความสงบ เรียบร้อย 1. ดูแลความสงบเรียบร้อยในชุมชน
2. ช่วยเหลือดูแลและระมัดระวังในการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยในชุมชน
3. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย
1. จัดเวรยามป้องกันรักษาความสงบ ภายในชุมชน
2. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3. รณรงค์ลดอบายมุข ลดอาชญากรรม
4. รณรงค์ป้องกันยาเสพติด
คลัง 1. มีหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง และทรัพย์สินของชุมชน
2. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย
1. จัดทำบัญชีรับ - จ่ายของชุมชน
2. จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์หรือ สหกรณ์ชุมชน
3. จัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน
4. กระตุ้นเร่งเร้าให้ประชาชนเห็นถึง ประโยชน์ของการ เสียภาษี
5. สำรวจข้อมูลที่ดิน โรงเรียน ป้ายและร้านค้าเพื่อการจัดเก็บรายได้ ของเทศบาล
6. จัดหารายได้เข้าชุมชน
สวัสดิการสังคม 1. งานสวัสดิการสังคมของราษฎร
2. การสงเคราะห์ผู้ยากจนที่ไม่ สามารถช่วยตัวเองได้ และผู้ประสบภัยพิบัติ
3. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย
1. สำรวจคนยากจนในชุมชน
2. มอบสิ่งของให้ความช่วยเหลือ คนยากจนเดือดร้อน
3. จัดหาสนามเด็กเล่น
4. จัดหาสถานที่พักผ่อนหย่อน ใจในชุมชน
5. สำรวจจัดทำทะเบียนสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย
สาธารณสุข 1. การรักษาพยาบาล
2. การสุขาภิบาล
3. การวางแผนครอบครัว
4. การป้องกันโรค
5. การรักษาและป้องกันอันตราย จากภาวะแวดล้อม ของชุมชน
6. การส่งเสริมสุขภาพอนามัย
7. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย
1. จัดให้มีการสาธิตการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
2. ให้ความรู้ด้านสุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป
3. ประชาสัมพันธ์ชักชวน ให้ประชาชนวางแผนครอบครัว
4. ป้องกันโรคระบาด โรคติดต่อ
5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในชุมชน ให้สะอาดและถูกสุขลักษณะ
6. จัดหาถังขยะไว้ในชุมชน
7. สร้างส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ฝ่ายพัฒนา 1. การวางแผนและจัดทำโครงการพัฒนาชุมชน และส่งเสริมอาชีพในชุมชน
2. การขอความช่วยเหลือจากหน่วย ราชการและเอกชนตามที่เห็นสมควร
3. การแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้อง ที่เกี่ยวกับการพัฒนา
4. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการชุมชนมอบหมาย
1. สำรวจข้อมูลเพื่อจัดทำแผนที่พัฒนาชุมชน
2. สร้าง ซ่อมแซม ปรับปรุงถนน ภายในชุมชน
3. จัดหาที่ประชุมชุมชน เช่น ที่ทำการชุมชน ศาลาประชาคม
4. ส่งเสริมอาชีพหลักและอาชีพรอง เช่น จักสาน ทำดอกไม้ จากกระดาษ และอื่น ๆ ที่ เหมาะสมกับชุมชน
การศึกษา 1. การศึกษา
2. การลูกเสือ
3. กิจกรรมเยาวชน
4. กิจกรรมที่เกี่ยวกับศาสนาศิลปวัฒนธรรม
5. การกีฬา
6. การพักผ่อนหย่อนใจ
7. งานอื่น ๆ ที่คณะกรรมการมอบหมาย
1. สำรวจเด็กในวัยเรียน
2. จัดหาทุนช่วยเหลือนักเรียน
3. พัฒนาวัด โรงเรียน ศาสนสถาน
4. สร้างที่อ่านหนังสือประจำชุมชน
5. จัดฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
6. ส่งเสริมการละเล่นพื้นเมือง
7. การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
8. จัดกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญ
9. ส่งเสริมศีลธรรม



รายชื่อประธานคณะกรรมการชุมชนเทศบาลนครปากเกร็ด จำนวน 66 ชุมชน

 

รายชื่อและสถานที่ติดต่อประธานชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

ลำดับที่
ชุมชน
ชื่อ - สกุล
1
ปากเกร็ดร่วมใจ 1 นางมาลัย เอี่ยมศรี
2
ปากเกร็ดร่วมใจ 2 นายปัญญา เอกนาวากืจ
3
ปากเกร็ดร่วมใจ 3 นายสุเทพ แก้วพลอย
4
ปากเกร็ดร่วมใจ 4 พ.ท.สุวิทย์ ภิรมยาภรณ์
5
ปากเกร็ดร่วมใจ 5 นางอรวรรณ ทับประไพ
6
ปากเกร็ดร่วมใจ 6 นายธวัข ขันรุ่ง
7
ปากเกร็ดร่วมใจ 7 นางสุรี บัวหลาด
8
ปากเกร็ดร่วมใจ 8 นางสาวประภัสสร กันทะวงศ์
9
ปากเกร็ดร่วมใจ 9 นายธำรงค์ จันทร์สุกรี
10
ปากเกร็ดร่วมใจ 10 นางศิริกุล ปรีชารัตน์
11
สายลม นางสาวกนกวรรณ อินทรกนก
12
การเคหะ นายทองพูน สกุลรักษ์
13
สรานนท์ นายอุทัยทิศ ยูงสมพร
14
บางตลาดพัฒนา 1 นายสุภาพ บำรุงพล
15
บางตลาดพัฒนา 2 นายอุษณากร ศุภมิตรธัญญากร
16
บางตลาดพัฒนา 3 นายสานิตย์ ชุมโคกกรวด
17
บางตลาดพัฒนา 4 นางสาวอมิเนาะ ลามอ
18
บางตลาดพัฒนา 5 นางยุพิน ลีลาภัย
19
บางตลาดพัฒนา 6 นายพีระพันธุ์ ไทยล้วน
20
บางตลาดพัฒนา 7 นางศรีสุข ขุ้ยศร
21
บางตลาดพัฒนา 8 นางสาวอิศญาณ์ ชมภูกลาง
22
บางตลาดพัฒนา 9 นางสาวยุพา ลามอ
23
บางตลาดพัฒนา 10 นางสินาภรณ์ บุญมาก
24
บางพลาดพัฒนา 11 นางอนงค์ จินดารัตน์
25
พบสุข นายเสริมศักดิ์ เเตงอ่อน
26
สวัสดิการ กทม. นายพิสิษฐ์ โชติชนาวงษ์
27
ประชาชื่น นางนฤมล สุวรรณเอี่ยม
28
ประชานิเวศน์ 2 ระยะ 3 นางสุขศรี เดชฤดี
29
กฤษดานคร นางจงรักษ์ นิยมแก้ว
30
พงษ์ธรรมนิเวศน์ นายเมี้ยน เยี๊ยะปุย
31
สี่ไชยทอง นางสาวภูภัทสรา พลภักดี
32
บางพูดสามัคคี 1 นางสาวประภาพร สีใส
33
บางพูดสามัคคี 2 นายสุรเชษฐ ทองคำ
34
บางพูดสามัคคี 3 นางอารีย์ จินตนวิศิษฐ์
35
บางพูดสามัคคี 4 นางสุวรรณี อุดมทรัพย์
36
บางพูดสามัคคี 5 นางเบญจวรรณ จันทร์แดง
37
บางพูดสามัคคี 6 นางโสภิดา นาคพินิจ
38
บางพูดสามัคคี 7 นายทองใบ ลาบุญ
39
บางพูดสามัคคี 8 นายธนากิต วรรณศิริ
40
บางพูดสามัคคี 9 นางอาภารัตน์ ครองบุญ
41
บางพูดสามัคคี 10 นางกัลยากร เกตุทอง
42
บางพูดสามัคคี 11 นางกฤษณา เสริฐสอน
43
บางพูดสามัคคี 12 นายอธิวุฒิ ลัดดาพันธ์
44
เสริมสุขนคร นายประหยัด เต็มรัตน์
45
ลานทอง พ.ต.อ.จารุภัชร ทองโกมล
46
ปากเกร็ดวิลเล็จ นางนัชทชา โพธิอำไพ
47
ไทยสมุทร นางไพเราะ มณีนิล
48
สหกรณ์ 3 นายโกสิน ชาญเลิศ
49
ราชพฤกษ์ นางมาลัย เตี้ยสกุล
50
วัดกู้ - มติชน นายสมชาย เที่ยงอ่ำ
51
บ้านใหม่สมานฉันท์ 1 นางสาวพัชราภรณ์ เพ็งสาตร์
52
บ้านใหม่สมานฉันท์ 2 นายสุโชติ ประสงค์
53
บ้านใหม่สมานฉันท์ 3 นางสุมิตรา จันทร์เพ็ญ
54
บ้านใหม่สมานฉันท์ 4 นางบุญทิ้ง  ทองมา
55
บ้านใหม่สมานฉันท์ 5 นางนิตดาวัลย์  คงสมบูรณ์
56
บ้านใหม่สมานฉันท์ 6 นายมนตรี  ทองดาษ
57
บ้านใหม่สมานฉันท์ 7 พ.ต.ท.สัมฤทธิ์  โภชฌงค์
58
บ้านใหม่สมานฉันท์ 8 นายวัชราวิชญ์  โสภารัตน์นิธิกุล
59
มิตรประชา นางรัชนี  โชติการ
60
ดวงแก้ว นางสาวเยาวภา  กำมะหยี่
61
โรงเรียนทหารขนส่ง พ.ต.กฤษดา  จันทรวิจิตรกุล
62
คลองเกลือเอื้ออารี 1 นางจันทนา  ประวาลปัทม์กุล
63
คลองเกลือเอื้ออารี 2 นายประคอง  วงษ์สุทิน
64
คลองเกลือเอื้ออารี 3 ไม่มีประธานชุมชน
65
คลองเกลือเอื้ออารี 4 นางดวงพร  อันแสน
66
คลองเกลือเอื้ออารี 5 นายฉลวย  กรุดไทย

ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2566

คณะกรรมการกองทุนชุมชนเมือง เทศบาลนครปากเกร็ด

ประวัติความเป็นมา

ด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมเมืองแห่งชาติ เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลซึ่งมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่มีเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนโดยได้กำหนดเป็นนโยบาย ในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อนำมาพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย ตลอดจนบรรเทาเหตุฉุกเฉินและความจำเป็นที่เร่งด่วน รวมทั้งใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม อีกทั้งเพื่อให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดระบบ และบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสู่การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืน อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศในอนาคต

เทศบาลนครปากเกร็ดได้ดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ได้ดำเนินการจัดตั้งกองทุนชุมชนเมืองขึ้น ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2544 ที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินการเปิด"เวทีชาวบ้าน" ให้แก่ประชาชนในชุมชนเพื่อเลือกสรรคณะกรรมการกองทุนชุมชนเมืองแต่ละชุมชน ชุมชนละ 9 -15 คน เพื่อจะเป็นตัวแทนของชุมชนในเข้ามาบริหารจัดการเงินกองทุน และออกกฎ ระเบียบ เงื่อนไข กองทุนของตนเอง

ชุมชนเมืองในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จากสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติ มีจำนวน 39 กองทุน และมีคณะกรรมการกองทุนแต่ละกองทุนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กองทุนชุมชนเมือง ( กองทุน 1 ล้านบาท )
หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนชุมชน สามารถติดต่อสมัครได้ที่คณะกรรมการกองทุนชุมชนของท่าน

 

รายชื่อกองทุน และประธานกรรมการกองทุนชุมชนเมือง จำนวน 39 กองทุน ปี พ.ศ. 2551 เทศบาลนครปากเกร็ด

 

ลำดับที่
กองทุนชุมชน
ชื่อ - สกุล
1
คลองเกลือเอื้ออารี 1 นางศิริพร พิลึก
2
คลองเกลือเอื้ออารี 2 นายประคอง วงษ์สุทิน
3
คลองเกลือเอื้ออารี 3 ดร.ชวลิต ทิสยากร
4
คลองเกลือเอื้ออารี 4 นายสุเทพ ทองหล่อ
5
บ้านใหม่สมานฉันท์ 1 นายสั่ง ฟักแป้น
6
บ้านใหม่สมานฉันท์ 2 ร.ต.ภุชงค์ บุณธรรม
7
บ้านใหม่สมานฉันท์ 3 นายวิเชียร สมสุข
8
บ้านใหม่สมานฉันท์ 4 นายประสิทธิ์ บุญเลิศ
9
บ้านใหม่สมานฉันท์ 5 นายสุรินทร์ ทองมา
10
บ้านใหม่สมานฉันท์ 6 นางเมธินี วุฒิกร
11
บ้านใหม่สมานฉันท์ 7 นางสมสมัย อุดมดี
12
บางพูดสามัคคี 1 นายวิถี วงษ์เพชร
13
บางพูดสามัคคี 2 นายประเสริฐ ภิญโญรัตนโชติ
14
บางพูดสามัคคี 3 นายสรพล ศรวิเศษ
15
บางพูดสามัคคี 4 นางจินดา ทิพวรรณ
16
บางพูดสามัคคี 5 นายธนนันท์ ฉาบพลอย
17
บางพูดสามัคคี 6 น.ท.สมศักดิ์ เจริญวัย
18
บางพูดสามัคคี 7 นายเสรี ส่งสังฆชัยกุล
19
บางพูดสามัคคี 8 นายอมเรศ โศภนะศุกร์
20
บางพูดสามัคคี 9 ด.ต.ราม รุ่งแสง
21
เตาอิฐ นายสมบัติ เต๊ะอั้น
22
วัดหงษ์ทอง นางปราณี เที่ยงพัฒน์
23
ปากเกร็ดร่วมใจ 1 นายธวัชชัย กฤษณัมพก
24
ปากเกร็ดร่วมใจ 2 นายมนัส พนมเวศน์
25
ปากเกร็ดร่วมใจ 3 นายอรุณ แข่งขัน
26
ปากเกร็ดร่วมใจ 4 รศ.ดร.วิชัย แหวนเพชร
27
ปากเกร็ดร่วมใจ 5 นายเผื่อน พูลทอง
28
ปากเกร็ดร่วมใจ 6 นางวิไล จันทรง
29
ปากเกร็ดร่วมใจ 7 นายอนันต์ บริวารพิทักษ์
30
บางตลาดพัฒนา 1 นางสุมลมาลย์ สื่อประสาร
31
บางตลาดพัฒนา 2 นายกฤษฎา อินทวิเศษ
32
บางตลาดพัฒนา 3 พ.ต.อ.วิรัตน์ บุณยรัตกลิน
33
บางตลาดพัฒนา 4 นายสัญชัย ชาติเชื้อ
34
บางตลาดพัฒนา 5 นางสุพิมล ธนะไพบูลย์
35
บางตลาดพัฒนา 6 นายวสุ อินทร์แก้ว
36
บางตลาดพัฒนา 7 นางสาวดวงจันทร์ รัศมีจันทร์
37
บางตลาดพัฒนา 8 นายสุนทร ทวีโชค
38
บางตลาดพัฒนา 9 นางพิมพรรณ ประดิษฐ์เกตุ
39
บางตลาดพัฒนา 10 นางกัณฐิกาสิณีย์ ศาสนภักดี

 

กิจกรรมต่างๆ งานสังคมสงเคราะห์

เทศบาลนครปากเกร็ด ได้ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย เป็นต้น เป็นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในเขตเทศบาล รวมทั้งให้คำแนะนำประชาชนในด้านการสงเคราะห์เรื่องต่าง ๆ

กิจกรรมเสริมสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิต

  • การจัดฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน
  • การจัดการแข่งขันกีฬาในชุมชน
  • การจัดกิจกรรม WALK RALLY เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว

 




คณะกรรมการชุมชนชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการชุมชน 1 คน และกรรมการชุมชน ไม่เกิน 8 คน

- คณะกรรมการชุมชน อาจพิจารณาแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาได้ตามความเหมาะสม
- ประธานกรรมการชุมชน อาจพิจารณาคัดเลือกกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่เลขานุการ

ปัจจุบันเทศบาลนครปากเกร็ด มีจำนวน 66 ชุมชน (ปี 2549 - 2561)

  1. เป็นผู้นำและเป็นแกนกลางในการพัฒนาชุมชน
  2. แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน
  3. เสนอแผนงาน โครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากเทศบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ
  4. ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีความสำนึกและร่วมใจกันพัฒนาชุมชน
  5. ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามและภูมิปัญญาของท้องถิ่น
  6. เสริมสร้างความสามัคคีและความเข้มแข็งในชุมชน
  7. ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการชุมชนย่อย

  1. ศึกษาข้อมูลของชุมชน เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการต่าง ๆ ที่จำเป็น
  2. นำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
  3. สรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งกันและกัน
  4. ปฏิบัติตามแนวทางที่ได้วางไว้ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
  5. ติดตามผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงด้วยดี