1. ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางห่างจากจังหวัดนนทบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งเป็นปริมณฑลติดกับกรุงเทพมหานคร
ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันตก ติดต่อ แม่น้ำเจ้าพระยา (ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปากเกร็ด)
3. พื้นที่
เทศบาลนครปากเกร็ดมีพื้นที่ปกครอง 36.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้น 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน
4. ทะเบียนราษฏร
4.1 ข้อมูลบ้านและครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
จากข้อมูลด้านทะเบียนราษฏรของเทศบาลนครปากเกร็ดซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ปกครอง 5 ตำบล โดยมีจำนวนหมู่บ้านตามเขตปกครองรวม 34 หมู่บ้าน มีจำนวนบ้านรวม 141,605 หลัง และจำนวนครัวเรือนรวม 73,755 ครัวเรือน โดยแสดงรายละเอียดจำแนกตามตำบลไว้ ดังนี้
ตารางที่ 1 ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน จำนวนบ้าน และจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
ตำบล | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนบ้าน | จำนวนครัวเรือน |
---|---|---|---|
ตำบลปากเกร็ด | 5 | 23,121 | 13,062 |
ตำบลบางพูด | 9 | 45,028 | 23,080 |
ตำบลบ้านใหม่ | 6 | 38,275 | 16,862 |
ตำบลบางตลาด | 10 | 24,801 | 15,519 |
ตำบลคลองเกลือ | 4 | 10,380 | 5,232 |
รวม | 34 | 141,605 | 73,755 |
อัตราเฉลี่ยประชาการ 5,250 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูล ณ กันยายน 2567
4.2 ข้อมูลจำนวนประชากร
ปัจจุบันในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดมีประชากรตามข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฏรเทศบาลนครปากเกร็ดจำนวนทั้งสิ้น 189,192 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 87,022 คน เพศหญิง จำนวน 102,170 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 5,250 คนต่อตารางกิโลเมตร
ตารางที่ 2 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดจำแนกตามเพศ
ตำบล | ชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) |
---|---|---|---|
ตำบลปากเกร็ด | 16,429 | 19,442 | 35,871 |
ตำบลบางพูด | 28,620 | 34,434 | 63,054 |
ตำบลบ้านใหม่ | 16,550 | 19,056 | 35,606 |
ตำบลบางตลาด | 21,082 | 23,609 | 44,691 |
ตำบลคลองเกลือ | 4,341 | 5,629 | 9,970 |
รวม | 87,022 | 102,170 | 189,192 |
ข้อมูล ณ กันยายน 2567
ตารางที่ 3 ตารางแสดงการเปรียบเทียบจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ย้อนหลัง 4 ปี
ตำบล | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 | ปี 2567 |
---|---|---|---|---|
ตำบลปากเกร็ด | 36,108 | 36,608 | 36,166 | 35,871 |
ตำบลบางพูด | 63,806 | 63,331 | 63,163 | 63,054 |
ตำบลบ้านใหม่ | 34,452 | 34,977 | 35,266 | 35,606 |
ตำบลบางตลาด | 46,669 | 45,347 | 45,029 | 44,691 |
ตำบลคลองเกลือ | 9,560 | 9,655 | 9,804 | 9,970 |
รวม | 190,595 | 189,918 | 189,428 | 189,192 |
ข้อมูล ณ กันยายน 2567
จากข้อมูลในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นจำนวนประชากรในช่วงระยะเวลาสี่ปี (พ.ศ.2564 - 2567) โดยลดลงจากปี 2564 เป็นจำนวน 1,403 คน ทั้งนี้ ยังไม่รวมกลุ่มประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยไม่ปรากฏข้อมูลในระบบทะเบียนราษฏร ซึ่งมีจำนวนมากและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้
ตารางที่ 4 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดแยกตามกลุ่มอายุ ย้อนหลัง 4 ปี
ตำบล | อายุ 1-6 ปี (ก่อน-ปฐมวัย) | อายุ 7-17 ปี (ประถม-มัธยม) | อายุ 18-59 ปี (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง) | อายุ 60 ขึ้นไป | ||||||||||||
2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | |
ตำบลปากเกร็ด | 2,733 | 2,334 | 2,058 | 1,794 | 4,824 | 5,105 | 5,035 | 4,937 | 21,029 | 21,371 | 21,062 | 20,778 | 7,522 | 7,798 | 8,011 | 8,362 |
ตำบลบางตลาด | 2,493 | 2,293 | 2,247 | 2,149 | 5,842 | 5,403 | 5,227 | 5,163 | 27,271 | 26,239 | 25,878 | 25,505 | 11,063 | 11,412 | 11,677 | 11,874 |
ตำบลบ้านใหม่ | 2,146 | 2,043 | 1,942 | 1,876 | 4,176 | 4,219 | 4,244 | 4,259 | 22,280 | 22,571 | 22,594 | 22,600 | 5,850 | 6,144 | 6,486 | 6,871 |
ตำบลบางพูด | 3,511 | 3,185 | 2,964 | 2,738 | 7,590 | 7,467 | 7,335 | 7,171 | 40,540 | 39,963 | 39,531 | 39.204 | 12,165 | 12,716 | 13,333 | 13,941 |
ตำบลคลองเกลือ | 443 | 403 | 399 | 389 | 777 | 781 | 774 | 778 | 5,928 | 5,971 | 6,063 | 6,170 | 2,412 | 2,500 | 2,568 | 2,633 |
รวม | 11,326 | 10,258 | 9,610 | 8,946 | 23,209 | 22,975 | 22,615 | 22,308 | 117,048 | 116,115 | 115,128 | 114,257 | 39,012 | 40,570 | 42,075 | 43,681 |
ข้อมูล ณ กันยายน 2567
5. ลักษณะภูมิประเทศ
ด้วยพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่าที่ราบกรุงเทพ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม จึงได้มีการขุดคูคลองเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่สวนไร่นา ด้วยสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน กลายเป็นพื้นที่รองรับการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย หน่วยงานราชการ แหล่งธุรกิจ เขตอุตสาหกรรม ศาสนสถาน และโรงเรียน จนกลายเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่นแล้ว คูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติ เดิมเป็นพื้นที่ในการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่สวนไร่นา แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่รองรับการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานที่ดิน อำเภอปากเกร็ด พบว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลปากเกร็ด มีคูคลองแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ดังนี้
ตารางที่ 5 ตารางแสดงรายชื่อคู คลอง ลำกระโดง และลำรางสาธารณประโยชน์ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
คลองสาธารณะ | ลำรางสาธารณะ | ลำกระโดงสาธารณะ | คูน้ำสาธารณะ |
---|---|---|---|
1. คลองบางตลาด | 1. ลำรางตาบุญ | 1. ลำกระโดงสาธารณะ | 1. คูวัดหงษ์ทอง |
2. คลองทองหลาง | 2. ลำรางยายพ่วง | ||
3. คลองบางพัง | 3. ลำรางมติชน | ||
4. คลองบางพูด | 4. ลำรางบ้านช่อง | ||
5. คลองส้ม | 5. ลำรางแวะ | ||
6. คลองวัดช่องลม | 6. ลำรางดงตาล | ||
7. คลองบ้านเก่า | 7. ลำรางหัวสิงห์ | ||
8. คลองบ้านใหม่ | 8. ลำรางหนองใหญ่ | ||
9. คลองส่วย | 9. ลำรางขี้เหล็ก | ||
10. คลองอ้อมเกาะ | 10. ลำรางควาย | ||
11. คลองโพธิ์ | 11. ลำรางเต่าดำ | ||
12. คลองตาล | 12. ลำรางหนองตาเกิ้น | ||
13. คลองสามง่าม | |||
14. คลองเกลือ | |||
15. คลองตรง | |||
16. คลองนา | |||
17. คลองวัดกลางเกร็ด | |||
ที่มา : เทศบาลนครปากเกร็ด 2559