ข้อมูลสินค้า OTOP

นโยบาย ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

วิธีการดำเนินการ
  1. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนคัดเลือกผลิตภัณฑ์และร่วมคัดสรรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
  2. สำรวจผู้ผลิต และผู้ประกอบการในเขตเทศบาลฯ ที่สนใจสมัครลงทะเบียน
  3. จัดสรรงบประมาณโครงการพัฒนารูปแบบและคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน อบรมให้ความรู้แก่ผู้ผลิต / ผู้ประกอบการ กลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชน
  4. ส่งเสริมให้ผู้ผลิต / ผู้ประกอบการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้เป็นวิทยากรอบรม และถ่ายทอดความรู้ให้กับประชาชน
ผลการดำเนินการของเทศบาล

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ได้รับการลงทะเบียนในปี 2567 จำนวน 117 ราย (383 ผลิตภัณฑ์) แยกเป็น

  1. ประเภทอาหาร จำนวน 39 ราย (115 ผลิตภัณฑ์)
  2. ประเภทเครื่องดื่ม จำนวน 9 ราย (60 ผลิตภัณฑ์)
  3. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน 21 ราย (76 ผลิตภัณฑ์)
  4. ประเภทของใช้ ของประดับตกแต่ง ของที่ระลึก จำนวน 27 ราย (82 ผลิตภัณฑ์)
  5. ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย จำนวน 21 ราย (50 ผลิตภัณฑ์)
ปัญหาและอุปสรรค

ผู้ผลิต / ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตเทศบาลฯ ส่วนมากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย กำลังการผลิตน้อย ไม่สามารถทำตามหลักเกณฑ์ในการสมัครเข้ารับลงทะเบียน OTOP ได้ เทศบาลจึงได้จัดทำโครงการ โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ผู้ผลิต / ผู้ประกอบการรายย่อย ที่ไม่สามารถลงทะเบียน OTOP ให้มีศักยภาพมากขึ้น หรือมีสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนเอง

หน่วยงานของเทศบาล / สถานธนานุบาล

สถานธนานุบาล

สถานธนานุบาลเทศบาลนครปากเกร็ด เปิดบริการเมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2544 โดยรับจำนำ และคิดดอกเบี้ยรับจำนำ ดังนี้ วงเงินในการรับจำนำ รายละไม่เกิน 20,000 บาท โดยคิดดอกเบี้ยแยกเป็นดังนี้ คือ

  1. เงินต้นไม่เกิน 500 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท 25 สตางค์ ต่อเดือน
  2. เงินต้นไม่เกิน 2,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1 บาท 50 สตางค์ ต่อเดือน
  3. เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท แยกคิดดอกเบี้ยออกเป็น 2 ช่วง คือ
  4. เงินต้น 2,000 บาทแรก คิดดอกเบี้ยร้อยละ 2 บาท ต่อเดือน
  5. เงินต้นเฉพาะส่วนที่เกิน 2,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 1 บาท 25 สตางค์ ต่อเดือน