สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของเทศบาลนครปากเกร็ด

 

1.ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาระยะทางห่างจากจังหวัดนนทบุรี ประมาณ 10 กิโลเมตร ทำเลที่ตั้งเป็นปริมณฑลติดกับกรุงเทพมหานคร

2.อาณาเขต
 
อาณาเขตติดต่อ :
ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
ทิศใต้ ติดต่อ เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขตดอนเมืองและเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันตก ติดต่อ แม่น้ำเจ้าพระยา (ตำบลบางตะไนย์ อำเภอปาเกร็ด)

3. พื้นที่
เทศบาลนครปากเกร็ดมีพื้นที่ปกครอง 36.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้น 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน

4.ทะเบียนราษฏร
4.1 ข้อมูลบ้านและครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด
จากข้อมูลด้านทะเบียนราษฏรของเทศบาลนครปากเกร็ดซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ปกครอง 5 ตำบล โดยมีจำนวนหมู่บ้านตามเขตปกครองรวม 34 หมู่บ้าน มีจำนวนบ้านรวม 131,281 หลัง และจำนวนครัวเรือนรวม 72,831 ครัวเรือน โดยแสดงรายละเอียดจำแนกตามตำบลไว้ ดังนี้

ตารางที่ 1 ตารางแสดงจำนวนหมู่บ้าน จำนวนบ้าน และจำนวนครัวเรือนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

ตำบล จำนวนหมู่บ้าน จำนวนบ้าน จำนวนครัวเรือน
ตำบลปากเกร็ด 5 23,095 13,033
ตำบลบางพูด 9 44,937 23,007
ตำบลบ้านใหม่ 6 35,523 16,351
ตำบลบางตลาด 10 24,372 15,225
ตำบลคลองเกลือ 4 10,354 5,215
รวม 34 138,281 72,831

อัตราเฉลี่ยประชาการ 5,261 คนต่อตารางกิโลเมตร
ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566

4.2 ข้อมูลจำนวนประชากร
ปัจจุบันในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดมีประชากรตามข้อมูลของสำนักทะเบียนราษฏรเทศบาลนครปากเกร็ดจำนวนทั้งสิ้น 189ม589 คน แยกเป็น เพศชาย จำนวน 87,507 คน เพศหญิง จำนวน 102,082 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่เท่ากับ 5,261 คนต่อตารางกิโลเมตร

ตารางที่ 2 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดจำแนกตามเพศ

ตำบล ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
ตำบลปากเกร็ด 16,708 19,595 36,303
ตำบลบางพูด 28,816 34,533 63,349
ตำบลบ้านใหม่ 16,424 18,679 35,103
ตำบลบางตลาด 21,318 23,767 45,085
ตำบลคลองเกลือ 4,241 5,508 9,749
รวม 87,507 102,082 189,589

ข้อมูล ณ พฤษภาคม 2566

ตารางที่ 3 ตารางแสดงการเปรียบเทียบจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ย้อนหลัง 4 ปี

ตำบล ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
ตำบลปากเกร็ด 37,795 37,744 36,108 36,608
ตำบลบางพูด 63,264 63,207 63,806 63,331
ตำบลบ้านใหม่ 31,550 31,885 34,452 34,977
ตำบลบางตลาด 47,946 47,789 46,669 45,347
ตำบลคลองเกลือ 9,292 9,349 9,560 9,655
รวม 189,847 189,974 190,595 189,918

ข้อมูล ณ กันยายน 2565

จากข้อมูลในตารางที่ 3 แสดงให้เห็นจำนวนประชากรในช่วงระยะเวลาสี่ปี (พ.ศ.2560 - 2563) โดยลดลงจากปี 2560 เป็นจำนวน 491 คน ทั้งนี้ ยังไม่รวมกลุ่มประชากรแฝงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยไม่ปรากฏข้อมูลในระบบทะเบียนราษฏร ซึ่งมีจำนวนมากและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลในส่วนนี้

ตารางที่ 4 ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลนครปากเกร็ดแยกตามกลุ่มอายุ ย้อนหลัง 4 ปี

ตำบล อายุ 1-6 ปี (ก่อน-ปฐมวัย) อายุ 7-17 ปี (ประถม-มัธยม) อายุ 18-59 ปี (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง) อายุ 60 ขึ้นไป
    2560      2561      2562       2563       2560       2561       2562  2563     2560       2561       2562   2563     2560       2561       2562   2563
ตำบลปากเกร็ด 2,636 2,538 2,450 2,848 5,964 5,478 5,485 4,583 23,253 23,182 23,259 21,334 5,922 6,546 6,356 7,231
ตำบลบางพูด 4,506 4,377 4,430 4,770 8,767 8,097 8,103 8,554 41,124 41,012 41,198 40,348 8,965 9,721 9,468 9,542
ตำบลบ้านใหม่ 2,275 3,078 3,156 3,218 4,541 7,108 7,623 7,128 20,656 28,388 27,662 27,500 4,164 9,215 9,120 9,420
ตำบลบางตลาด 3,105 2,440 2,482 2,749 7,820 4,164 4,105 4,227 28,553 20,676 21,192 21,668 8,557 4,605 4,510 4,686
ตำบลคลองเกลือ 446 468 344 453 1,007 875 825 802 5,934 5,951 5,967 5,969 1,917 2,055 2,218 2,326
รวม 12,968 12,901 12,862 14,038 28,099 25,722 26,141 25,294 119,520 119,209 119,278 116,819 29,525 32,142 31,672 33,205

 ข้อมูล ณ กันยายน 2563

5.ลักษณะภูมิประเทศ

ด้วยพื้นที่ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ราบลุ่มสามเหลี่ยมแม่น้ำเจ้าพระยาที่เรียกว่าที่ราบกรุงเทพ การตั้งถิ่นฐานในบริเวณนี้มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เนื่องจากพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม จึงได้มีการขุดคูคลองเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่สวนไร่นา ด้วยสภาพพื้นที่ในปัจจุบัน กลายเป็นพื้นที่รองรับการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาพื้นที่เป็นที่อยู่อาศัย หน่วยงานราชการ แหล่งธุรกิจ เขตอุตสาหกรรม ศาสนสถาน และโรงเรียน จนกลายเป็นพื้นที่ชุมชนหนาแน่นแล้ว คูคลองแหล่งน้ำธรรมชาติ เดิมเป็นพื้นที่ในการส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่สวนไร่นา แต่ปัจจุบันกลายเป็นที่รองรับการระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากการสำรวจข้อมูลจากสำนักงานที่ดิน อำเภอปากเกร็ด พบว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลปากเกร็ด มีคูคลองแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ดังนี้

ตารางที่ 5 ตารางแสดงรายชื่อคู คลอง ลำกระโดง และลำรางสาธารณประโยชน์ภายในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด

คลองสาธารณะ ลำรางสาธารณะ ลำกระโดงสาธารณะ คูน้ำสาธารณะ
1. คลองบางตลาด 1. ลำรางตาบุญ 1. ลำกระโดงสาธารณะ 1. คูวัดหงษ์ทอง
2. คลองทองหลาง 2. ลำรางยายพ่วง    
3. คลองบางพัง 3. ลำรางมติชน    
4. คลองบางพัง 4. ลำรางบ้านช่อง    
5. คลองส้ม 5. ลำรางแวะ    
6. คลองวัดช่องลม 6. ลำรางดงตาล    
7. คลองบ้านเก่า 7. ลำรางหัวสิงห์    
8. คลองบ้านใหม่ 8. ลำรางหนองใหญ่    
9. คลองส่วย 9. ลำรางขี้เหล็ก    
10. คลองอ้อมเกาะ 10. ลำรางควาย    
11. คลองโพธิ์ 11. ลำรางเต่าดำ    
12. คลองตาล 12. ลำรางหนองตาเกิ้น    
13. คลองสามง่าม      
14. คลองเกลือ      
15. คลองตรง      
16. คลองนา      
17. คลองวัดกลางเกร็ด      
       

ที่มา : เทศบาลนครปากเกร็ด 2559

(พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๕๔๓)

Super User